จำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน   

ดอกต่ำ ได้เงินไว ให้ยอดสูง  

  ** ไม่หักดอกเบี้ยล่วงหน้า ได้เงินเต็ม **   
 
ปรึกษา  คุณเอก   081-6319888 (DTAC 
 081-7521499    (AIS 
สมาชิก

สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน



แลกลิงค์กับเรา


เพียงนำโค้ดด้านล่างไปติดในเว็บท่านแล้วแจ้งกลับมาทางเรา


 
ขายฝาก คืออะไร
แบ่งปันให้เพื่อน เมื่อ 17/01/2013 อ่าน 20739

การขายฝาก คืออะไร?

การขายฝาก คือ การซื้อขายอย่างหนึ่งซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันที แต่มีข้อตกลงว่า  ผู้ขายฝากอาจไถ่ทรัพย์คืนได้ภายในเวลาที่กำหนด

ทรัพย์สินใดขายฝากได้บ้าง?

ทรัพย์สินทุกชนิดขายฝากได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน รถยนต์ เรือ นาฬิกา แต่การซื้อขายทรัพย์บางอย่างต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้

แบบของสัญญาขายฝาก

1. ถ้าเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ (ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้) เช่น บ้าน หรือที่ดิน หรือขายฝากเรือกำปั่น หรือเรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟหรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป เรือนแพที่คนอยู่อาศัย สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า โค เป็นต้น

2. ถ้าเป็นการขายฝากสังหาริมทรัพย์ ที่มีราคา 500 บาทหรือเรียกว่า 500 บาท ขึ้นไป การขายฝากนี้จะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ  ให้ผู้ขายและผู้ซื้อลง ชื่อไว้ในหนังสือหรือต้องมีการวางมัดจำ หรือมีการชำระหนี้บางส่วนไปแล้ว   มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้ศาลบังคับไม่ได้
 

การไถ่ทรัพย์คืนหรือการซื้อกลับคืน

1. สินไถ่ คือ จำนวนเงินที่ผู้ขายฝากต้องนำมาชำระแก่ผู้รับซื้อฝาก   เพื่อขอไถ่เอาทรัพย์คืนซึ่งอาจจะตกลงไว้ในสัญญาขายฝากหรือไม่ได้ตกลงไว้ก็ ได้ และสินไถ่จะต้องเป็นเงินเสมอและไถ่ถอนกันด้วยทรัพย์สินอย่างอื่นไม่ได้

2. ระยะเวลาการไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝาก

2.1 การขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ต้องกำหนดไถ่ถอนกันภายในเวลาไม่เกิน 10 ปี
2.2 การขายฝากสังหาริมทรัพย์ ต้องกำหนดไถ่ถอนกันภายในเวลาไม่เกิน 3 ปี

3. การไถ่ทรัพย์คืนมีข้อพิจารณาดังนี้

3.1 ต้องไถ่ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้    จะไถ่เมื่อเกินกำหนดแล้วไม่ได้ และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้ ซื้อฝาก อย่างเด็ดขาด   ผู้ขายฝากหมดสิทธิไถ่
3.2 ขยายกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์คืนสามารถทำได้ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่

4. บุคคลที่มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืนได้

4.1 ผู้ขายฝากหรือทายาทของผู้ขายฝาก
4.2 ผู้รับโอนสิทธิการไถ่ทรัพย์สินคืน
4.3 บุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้

5. บุคคลที่มีสิทธิให้ไถ่คืนได้

5.1 ผู้รับซื้อฝากหรือถ้าหากผู้รับซื้อฝากตายก่อนครบกำหนดเวลาไถ่  ผู้ขายฝาก ต้องไปขอไถ่จากทายาทของผู้รับฝาก
5.2 ผู้รับโอนทรัพย์สินที่ขายฝากนั้น จากผู้ซื้อฝากเดิมดอกผลของทรัพย์สินที่ขายฝากที่เกิดขึ้นในระหว่างการขายฝาก ดอกผลของทรัพย์สินที่ขายฝากซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการขายฝากย่อมตกเป็นของผู้ ซื้อฝาก